ฝึกนอนน้อยอย่างไร

นอนน้อยลงได้ไหม? ทำอย่างไรเมื่อเราอยากมีเวลาเพิ่มขึ้น

สำหรับบางคนแล้ว การเสียเวลากว่า 1 ใน 3 ของวันไปกับการนอนถือเป็นเรื่องที่เสียเวลาสุดๆเลยล่ะ

หากเราประหยัดเวลาตรงนี้ลงได้ เราก็จะมีเวลาไปทำสิ่งต่างๆอีกตั้งมากมาย เราอาจจะ
มีเวลา 1 ชม. ในการออกกำลังกายดูแลสุขภาพมากขึ้น
มีเวลา 2 ชม. ที่จะได้ใช้ไปกับแฟน หรือ ลูกๆ
มีเวลา 3 ชม. สำหรับการเรียนรู้พัฒนา ความสามารถใหม่ๆ

แต่หลายคนก็คงนึกถึงสภาพของตนเองในวันถัดมาได้เป็นอย่างดี
เป็นสภาพที่คงไม่ต่างจากซอมบี้มากนัก..

หากเราสามารถฝึกการนอนให้น้อยลงได้โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย มันก็คงจะเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่ใช่น้อย

แล้วก็ดูเหมือนจะมีคนที่ทำได้ด้วยสิ

ไม่ว่าจะ Margaret Thatcher อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ , หรือศิลปินชื่อดังอย่าง Leonardo Da Vinci ต่างก็ระบุว่าตนเองนอนเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น

แล้วเราจะสามารถทำอย่างนั้นได้บ้างไหมนะ?


อดนอน

ร่างกายเราสามารถเคยชินกับการนอนน้อยได้ไหม ?

เป็นเรื่องน่าเสียดายที่เราอาจะจะไม่สามารถนอนน้อยตามที่ต้องการได้ เพราะปริมาณการนอนของเราได้ถูกกำหนดไว้แล้วจาก DNA  ที่ฝังลึกอยู่ในร่างกายตั้งแต่กำเนิด

สำหรับ 97-99 % ของประชากรโลก การนอนที่เหมาะสมจะอยู่ราว 6-8 ชม. หากน้อยกว่านั้นแล้ว จะสัมผัสได้ถึงผลเสียที่เกิดขึ้นต่อร่างกายอย่างชัดเจน

เราอาจจะนอนน้อยติดต่อกันได้หลายๆวัน แต่ในระยะยาว ร่างกายของเราจะไม่มีทางเคยชินกับการนอนน้อยๆได้โดยไร้ผลกระทบอย่างแน่นอน

แล้วอีก 1-3 % ที่เหลือล่ะ ?

กลุ่มเหล่านี้คือกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า ‘ Short sleepers’ ซึ่งมี genes พิเศษอย่าง ADRB1 ที่ช่วยให้ร่างกายต้องการการนอนที่น้อยลงได้ โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อร่างกาย ซึ่งพวกเค้าอาจจะเป็นคนที่คุณพอมักหน้าคุ้นตาอยู่บ้าง เพราะโดยส่วนใหญ่มักจะมีรูปร่างลักษณะที่ผอม อารมณ์ดี พลังงานล้นเหลืออยู่ตลอดเวลา

แล้วเราสามารถฝึกการนอนน้อยได้ไหมนะ ?

ถึงแม้เราจะไม่ใช่เหล่าผู้โชคดีอย่าง Short sleepers แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่สามารถทำอะไรได้เลย
Prof. Jim Horne. ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Loughborough University
ได้ระบุว่า เราเกือบทุกคนสามารถลดเวลาการนอนของเราให้น้อยลงได้ อย่างน้อยๆก็จนเหลือ 6 ชม.
โดยการทำตามขั้นตอนเหล่านี้

ฝึกนอนน้อยได้อย่างไร ?

1. ตั้งนาฬิกาปลุกเวลาเดิมทุกเช้าไม่ว่าจะเป็นวันทำงานหรือวันหยุดสุดสัปดาห์ การตื่นขึ้นและเข้านอนในเวลาเดิมคือกุญแจสำคัญในการสร้าง baseline ให้ร่างกาย

2. หลังจากสัปดาห์ที่ 1 ให้เข้านอนช้าลง 20 นาที

3. หลังจากสัปดาห์ที่ 2 ให้เข้านอนช้าลง 40 นาที

4. หลังจากสัปดาห์ที่ 3 ให้เข้านอนช้าลง 1 ชม.

5. ทำซ้ำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนคุณนอนที่เวลา 6 ชม.

อย่างไรก็ตาม การอดนอนเป็นเวลานานๆ ย่อมไม่ใช่ความคิดที่ดีอย่างแน่นอน ทุกครั้งที่เรานอนน้อยร่างกายเราก็จะยิ่งสะสมสิ่งที่เรียกว่า Sleep debt มากขึ้นเรื่อยๆ  หากมี Sleep debt ในปริมาณที่มากเกินไป การฟื้นฟูของร่างกายก็จะยิ่งบกพร่อง และเป็นการยากที่จะดูแลให้กลับเข้ามาสู่ภาวะปกติ

แต่บางที ในช่วงเวลาของเราที่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงและความรับผิดชอบ การอดนอนก็อาจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การทำตามวิธีด้านบนนี้อาจจะเป็นตัวช่วยที่ดีที่ทำให้เราข้ามผ่านช่วงเวลาการอดนอนปได้ โดยไม่อ่อนล้ามากนัก

แต่ถ้าหากใครที่ลองวิธีของ Prof. Jim แล้วแต่ดันติดปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ
ก็สามารถเข้ามาลองนวัตกรรมดีๆอย่าง HUGGIN Weighted blanket ซึ่งมีผลงานวิจัยรองรับมากมาย ถึงส่วนช่วยในการนอนหลับได้นะ